พร้อมเชื่อมต่อแล้ว!!! 3 Network APIs แรกของไทย ภายใต้ความร่วมมือ GSMA Open Gateway

22 ธ.ค. 2566

พร้อมเชื่อมต่อแล้ว!!! 3 Network APIs แรกของไทย ภายใต้ความร่วมมือ GSMA Open Gateway

ทรู ยืนหนึ่งผู้นำเทเลคอม-เทคคอมปานี ยกระดับความสามารถเครือข่ายเทียบชั้นสากล

เปิดตัว SIM Swap, Device Location และ Quality on Demand API มาตรฐานโลก ใช้งานจริงได้แล้ววันนี้

เดินหน้าพัฒนา Mobile Network Open APIs ใหม่ๆ ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก

 

  • เผย 3 พันธมิตรธุรกิจชั้นนำ ประเดิมเชื่อมต่อ Mobile Network Open API บนเครือข่ายทรู
  • โครงการ Early Adopter มอบสิทธิพิเศษให้สตาร์ทอัพและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์ม พัฒนาระบบเชื่อมต่อ Mobile Network Open API บนเครือข่ายทรู พร้อมทดสอบฟรี! ก่อนออกสู่ตลาด ร่วมส่งเสริม Open Innovation ขับเคลื่อนการเติบโตของระบบนิเวศดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2567

 

กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2566 – ทรู ประกาศความพร้อมให้บริการเชื่อมต่อ API เครือข่ายมือถือแบบเปิด (Mobile Network Open API) มาตรฐานโลก ครั้งแรกในไทย ภายใต้กรอบความร่วมมือ GSMA Open Gateway ย้ำความแข็งแกร่งผู้นำเทเลคอม-เทคคอมปานี ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย  ประเดิมเปิดตัว 3 Network APIs ได้แก่ SIM Swap, Device Location และ Quality on Demand ติดปีกภาคธุรกิจยกระดับคุณภาพบริการ สร้างมูลค่าเพิ่ม มอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังเอื้อต่อการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว   เผยโฉมพันธมิตรองค์กรชั้นนำร่วมพัฒนาระบบเชื่อมต่อ  API เครือข่ายมือถือแบบเปิดบนเครือข่ายทรู ด้วยมาตรฐานสากลเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆทั่วโลก เตรียมต่อยอดนำไปใช้งานจริงแล้ววันนี้  พร้อมคิกออฟโครงการ Early Adopter เปิดโอกาสสตาร์ทอัพร่วมพัฒนา และทดลองใช้งานได้ฟรีระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2567 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก่อนออกสู่ตลาด เร่งเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายและพัฒนา Mobile Network Open APIs ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโต ตลอดจนร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก

 

นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยความคืบหน้า  หลังจากที่ทรูประกาศความร่วมมือกับสมาคมจีเอสเอ็ม  (GSM Association  หรือ  GSMA)  ปักหมุดเป็นผู้ให้บริการรายแรกในไทยที่เป็นพันธมิตร GSMA Open Gateway ร่วมพัฒนา API เครือข่ายมือถือแบบเปิด หรือ Mobile Network Open APIs ว่า  “ตลอดเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา ทรูทำงานอย่างใกล้ชิดกับ GSMA ในการพัฒนา Mobile Network Open APIs ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกกว่า 30 รายทั่วโลก และวันนี้ ทรูประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับ 3 Networks APIs ประกอบด้วย SIM Swap, Device Location และ Quality on Demand  พร้อมเปิดให้สตาร์ทอัพและเหล่านักพัฒนาฯทั้งไทยและต่างประเทศ เชื่อมต่อฟังก์ชัน แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มต่างๆกับเครือข่ายทรู ด้วย API มาตรฐานเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆทั่วโลก สะท้อนชัดถึงความแข็งแกร่งของทรูในฐานะผู้นำเทเลคอม-เทคคอมปานี ที่เป็นมากกว่าผู้ให้บริการโครงข่าย มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัล ศักยภาพในการยกระดับความสามารถของเครือข่ายเทียบระดับสากล ตลอดจนความตั้งใจในการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ  โดยทรูจะยังคงเดินหน้าพัฒนา Network API ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมยกระดับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของลูกค้าและสร้างอนาคตของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆในยุคดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด


นายฮาว ริ เร็น หัวหน้าสายงานการพาณิชย์ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์และเทเลคอม-เทค บมจ. ทรู
คอร์ปอเรชั่น
กล่าวว่า “วันนี้ ทรูได้เริ่มทำงานกับพันธมิตรธุรกิจชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรม ในการเชื่อมต่อ Mobile Network Open API ผ่านเครือข่ายทรู 5G ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจให้บริการทางการเงินอย่าง บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการทรูมันนี่ ซึ่งเป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 50 ล้านราย และเครือข่ายตัวแทนกว่า 88,000 แห่งใน 7 ประเทศ, สตาร์ทอัพด้านเฮลท์เทค บริษัท เทค แคร์ ซิสเตม จำกัด ที่ได้นำเทคโนโลยีไอโอที (IoT) และคลาวด์ (Cloud) ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการด้านสุขภาพ และ บริษัท เอเมทเวิร์คส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการปรึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์แก่องค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ  เราเชื่อว่า การยกระดับเครือข่ายของเราให้พร้อมรองรับ Network APIs มาตรฐานสากล และการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างทรูและเหล่านักพัฒนาหรือองค์กรธุรกิจ จะสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจนขับเคลื่อนการขยายธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ไปยังทั่วทุกมุมโลก ผ่านการเชื่อมต่อ Networks API กับผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว”

ชี้ประโยชน์ในการเชื่อมต่อ Mobile Network Open API บนเครือข่ายทรู

API เครือข่ายมือถือแบบเปิด (Mobile Network Open APIs) ภายใต้กรอบความร่วมมือ  GSMA Open Gateway ช่วยให้องค์กรธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์ม สามารถเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของทรูได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยสามารถเข้าถึงและโต้ตอบกับฟังก์ชันและข้อมูลของเครือข่ายทรูได้แบบเรียลไทม์ ยกระดับการพัฒนาคุณภาพบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงการเพิ่มมูลค่า ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจนเอื้อต่อการขยายธุรกิจในประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วย API มาตรฐานเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆทั่วโลก โดยทรูมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Mobile Network Open API โดยเฉพาะ คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมี โครงการ Early Adopter สนับสนุน Open Innovation เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการเทค และเหล่านักพัฒนาฯ เริ่มต้นพัฒนาระบบเชื่อมต่อ Mobile Network Open API บนเครือข่ายทรู และทดสอบการใช้งานได้ฟรี! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจก่อนออกสู่ตลาดจริง  

 

นำ Mobile Network Open API เสริมแกร่งธุรกิจ

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด  ผู้ให้บริการทรูมันนี่ กล่าวว่า “การเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือผ่าน API แบบเปิดในมาตรฐานโลกของทรู ทำให้เรามองเห็นโอกาสในการสานต่อความร่วมมือเพื่อพัฒนาบริการและยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ทรูมันนี่ โดยที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกับทรูอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมนำ API ต่างๆ ดังกล่าวมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยในการให้บริการต่างๆ ทางด้านการเงินของทรูมันนี่ อีกทั้งเพิ่มโอกาสของพันธมิตรของเราในการเข้าถึงบริการและโอกาสต่างๆที่น่าสนใจจากการขยายระบบนิเวศดิจิทัลของทรูทั้งในและต่างประเทศ”


ด้านสตาร์ทอัพ ผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออกไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย โดย นายศิรสิทธิ์ สัจเดว์ ประธานคณะผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เทค แคร์ ซิสเตม จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือกับทรูช่วยให้ไม้เท้าอัจฉริยะของเรามีความปลอดภัยด้านการสื่อสารมากขึ้น และสามารถบอกพิกัดตำแหน่งของไม้เท้าได้แม่นยำขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์การใช้งานและพัฒนาไม้เท้าอัจฉริยะให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ไม้เท้าได้อย่างแท้จริง และที่สำคัญ การได้พัฒนาและเชื่อมต่อ Mobile Network Open API กับทรูยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจในต่างประเทศได้รวดเร็ว ผ่านการเชื่อมต่อ Mobile Network Open API มาตรฐานสากล กับโอเปอเรเตอร์ชั้นนำทั่วโลก”


นายสิทธิ เทียมเมฆา  หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี  บริษัท  เอเมทเวิร์คส์  จำกัด ผู้ให้บริการด้านการปรึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อธุรกิจองค์กร
กล่าวว่า “Emetworks มองเห็นศักยภาพของ Number Verification API ที่ทรูเตรียมจะเปิดให้เชื่อมต่อได้ในปี 2024 เราจึงร่วมกับทรู เตรียมพัฒนาระบบ EX10 Secure OTP ซึ่งจะเป็นการยืนยันตัวตนบุคคลผ่านการตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ในรูปแบบใหม่ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการสแปมได้ 100% อีกทั้งยังให้ประสบการณ์ที่ดีขึ้นและใช้งานง่ายกว่าเดิม โดย API ดังกล่าวจะสามารถใช้งานแทนระบบ OTP แบบเดิมๆ ช่วยให้ลูกค้ายืนยันตัวตนได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องกรอกรหัสที่ได้รับทาง SMS”

 

เปิด 3 Network APIs มาตรฐานโลก พร้อมเชื่อมต่อแล้ววันนี้

  • SIM SWAP API ช่วยลดความเสี่ยงจากการปลอมแปลงและเพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจที่มีบริการธุรกรรมออนไลน์กับลูกค้า โดยนักพัฒนาแอปพลิเคชันหรือองค์กรธุรกิจสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนซิมการ์ดครั้งล่าสุด ซึ่งจะช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของซิมการ์ดก่อนส่งข้อมูลสำคัญไปยังเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ของลูกค้า จึงช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบวันและเวลาที่ซิมการ์ดถูกเปลี่ยนไปใช้งานกับอุปกรณ์อื่น ซึ่งจะช่วยองค์กรธุรกิจปกป้องการเข้าถึงข้อมูลและป้องกันการเข้าใช้งานระบบภายในบริษัทจากอุปกรณ์อื่นๆ ในกรณีที่อุปกรณ์ของบริษัทหายหรือถูกขโมย
  • DEVICE LOCATION API ยืนยันตำแหน่งของอุปกรณ์และซิมการ์ดที่ใช้งานอยู่ นอกจากจะช่วยภาคธุรกิจยกระดับประสบการณ์ในการให้บริการ โดยนำเสนอสิทธิพิเศษและโปรโมชันผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่ลูกค้าที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการถูกปลอมแปลงบัญชี โดยสามารถตรวจจับความผิดปกติกรณีการทำธุรกรรมออนไลน์เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่น่าจะเป็นการทำรายการโดยเจ้าของบัญชีจริง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์ไอโอที (IoT) ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการ ติดตาม และตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากและติดตั้งอยู่ในหลากหลายพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
  • QUALITY ON DEMAND API ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจในการใช้งานเครือข่ายทรู 5G เพื่อยกระดับประสบการณ์ในการใช้งานสตรีมมิงของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ คอนเทนต์ มีเดียและเอนเทอร์เทนเมนต์ รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ เรียนและทำงานออนไลน์ เป็นต้น อีกทั้งยังตอบโจทย์การใช้งานของภาคอุตสาหกรรมในการควบคุมอุปกรณ์ เครื่องจักร โดรน และยานพาหนะ สั่งงานจากระยะไกลได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพ ทั้งความเร็ว ความหน่วงต่ำ และความเสถียรในการเชื่อมต่อเครือข่ายทรู 5G

สำหรับองค์กรธุรกิจ สตาร์ทอัพ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์ม ที่สนใจเชื่อมต่อ Mobile Network Open API บนเครือข่ายทรู 5G สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์บริการ
ลูกค้าธุรกิจ
1239
หรือ