ทรูบิสิเนส จัดอบรม ร่วมกับ วิทยาลัยเทคนิคระยอง และ EEC Automation Park ในหัวข้อ “Industry 4.0 Transformation : 5G Technology & AI”

23 ธ.ค. 2565

ทรูบิสิเนส ร่วมกับ วิทยาลัยเทคนิคระยอง และ EEC Automation Park จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มองค์กรภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบุคลากรด้านการศึกษาภาคเทคโนโลยี ในหัวข้อ “Industry 4.0 Transformation:5G Technology & Artificial Intelligence (AI)” การนำเทคโนโลยี 5G และปัญญาประดิษฐ์ AI ใปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม 4.0ซึ่งจัดขึ้น ณ วิทยาลัยเทคนิคระยอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา


ทรูบิสิเนสได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีจากหลากหลายองค์กร ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้และแชร์ประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยี 5G และปัญญาประดิษฐ์ AI ที่จะมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างหลากหลาย ซึ่งในงานมีผู้เข้าร่วมจากทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาจากองค์กรต่างๆ ที่มาร่วมอัพเดตองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อจะนำมาใช้พัฒนาและเตรียมพร้อมต่อยอดการใช้งานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มและเสริมว่า ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นสะพานเพื่อสร้างการเชื่อมโยง พัฒนาระบบนิเวศทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาโครงการและการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล อาทิเช่น HealthTech, EduTech, FinTech และอื่นๆ เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาโครงการดีๆในอนาคต

คุณชวาลชัย ตระกูลเกียรติ จาก บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัดกล่าวถึงความสำคัญของ 5Gที่สามารถให้บริการeMBB เน้นเรื่องการรับและส่งข้อมูลรวดเร็วมากขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์จากการรับส่งข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างสูงสุด


คุณสันติภาพ แจ่มใส จากบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจํากัด (มหาชน)กล่าวว่า การนำ5G และโซลูชันต่างๆไปใช้สำหรับลูกค้าองค์กรหรือโรงงานอุตสาหกรรมมีหลายรูปแบบและสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของความต้องการและงบประมาณเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายที่ต้องการในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้าสู่การเป็น Smart Factory ตอบรับกับการพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม4.0


คุณสุเมธ คำงำเมือง จากบริษัทมิตซูบิชิอีเล็คทริคแฟคทอรี่ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า

ทางบริษัทฯได้ออกแบบ iQ Manufacturing SME จากหลักการ SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level) เพื่อสร้างและพัฒนาระบบ Data Collection & Visualizations สำหรับสร้างระบบที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูล, เปรียบเทียบข้อมูล, แสดงผลและควบคุมกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือข้อมูลไม่สูญหายมีความสามารถในการช่วยควบคุมและแสดงผลในกระบวนการผลิตโดยรวมและแนะนำขั้นตอน Digitize ให้เป็นกระบวนการมาตรฐานที่กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กนำไปพัฒนาต่อได้


หลังจากนั้นคุณดำรง จินตศิริกูล ครูชำนาญการพิเศษสาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุมวิทยาลัยเทคนิคระยองได้นำเสนอ Cira CORE แพลตฟอร์มอัจฉริยะปัญญาประดิษฐ์ AI ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยและถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการศึกษาและมีการสาธิตแบบจำลองบริหารจัดการความปลอดภัยบนทางม้าลายด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือวิทยาเขตระยองอีกด้วย


ก่อนจบงานผู้มาอบรมได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมศูนย์ RTC-IAI Center ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่ออุตสาหกรรมของวิทยาลัยเทคนิคระยอง ซึ่งเกี่ยวกับ แบบจำลองการเรียนรู้ด้วยวิธีปัญญาประดิษฐ์แขนกลอุตสาหกรรมแบบ 6 แกนและ 3D Vision ใช้เรียนรู้ด้วยวิธีปัญญาประดิษฐ์ AI Learning showcase เป็นแขนกลอุตสาหกรรมที่ทำงานร่วมกับมนุษย์สามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมเพื่อทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วขึ้นสามารถลดต้นทุนในการผลิต ลดความเสี่ยงและอันตรายในพื้นที่ได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์บริการ
ลูกค้าธุรกิจ
1239
หรือ